คำถามที่พบบ่อย

 

พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มาตรา 5 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เรียกว่า “กองทุนยุติธรรม” มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชน ในการดำเนินคดี การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ดังนั้น ภารกิจสำคัญในการให้ความช่วยเหลือประชาชน จึงประกอบไปด้วย
1) การให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
2) การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
4) การสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

 

คำถามและคำตอบงานให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย (Legal Aid) ด้วยบริการกองทุนยุติธรรม

1. การให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี

ตอบ: ตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 ไม่มีบทบัญญัติให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) ที่ไม่ใช่การตรวจพิสูจน์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี ดังนั้น กองทุนยุติธรรม จึงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) ได้ แต่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในคราวประชุมคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมจึงมีมติให้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์การตรวจสารพันธุกรรม (DNA) ไปยังสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย และให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ประสานงานกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ต่อไป
หากผู้ขอฯ ได้รับอนุมัติการให้ความช่วยเหลือในการการดำเนินคดีแล้ว สามารถตรวจพิสูจน์ได้โดยเบิกจ่ายจากกองทุนยุติธรรมตามรายการค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ค่าจัดเตรียมเอกสาร ค่าสอบแนวเขตรังวัดที่ดิน ค่าภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศหรือดาวเทียม ค่าอ่าน แปล ตีความหรือวิเคราะห์ภาพถ่าย
ตอบ: สำหรับกรณีการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีในชั้นบังคับคดีนั้น กองทุนยุติธรรมจะให้ความช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่ (1) ค่าจ้างทนายความในการบังคับคดี คดีละ 5,000 - 30,000 บาท (2) ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 153
ตอบ: ตามสัญญาจ้างทนายความได้กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดไว้ ในกรณีทนายความจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดีตามข้อ 6 สำนักงานกองทุนยุติธรรมต้องดำเนินการตามข้อสัญญาที่กำหนดตามข้อ 9 โดยการบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าจ้างที่จ่ายไปโดยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ชำระเงินค่าจ้างคืนภายใน 15 วันนับแต่วันเลิกสัญญา ในส่วนค่าธรรมเนียมศาลซึ่งความเสียหายเป็นผลมาจากการจงใจขาดนั้นหรือทอดทิ้งคดีของทนายความ ดังนั้น ทนายความต้องรับผิดชดใช้เงินค่าธรรมเนียมศาลคืนกองทุนยุติธรรม
ตอบ: ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 บุคคลอาจขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมในการดำเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราว การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และคำว่า “บุคคล” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งได้กำหนดไว้ วรรคสอง ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล ดังนั้น หากผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ประสงค์จะยื่นขอรับความช่วยเหลือ ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ว่าให้อำนาจในการดำเนินการดังกล่าวไว้หรือไม่ ประกอบกับการจัดตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นก็เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ยากไร้ คนจนให้เข้าถึงความยุติธรรม โดยหลักการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือ กองทุนยุติธรรมต้องคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือเป็นสำคัญด้วย
ตอบ: ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีและการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ถูกกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน (2) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน (3) โอกาสที่ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน จะได้รับความช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่น ดังนั้น หากกองทุนยุติธรรมพิจารณาแล้วเห็นว่าเข้าหลักเกณฑ์ ก็สามารถพิจารณาให้ความช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวได้
ตอบ: ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 19 หากกรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือ ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของอนุกรรมการหรือประธาน ให้ยื่นหนังสือขอให้ทบทวนผลการพิจารณาแต่คณะอนุกรรมการหรือประธาน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา ดังนั้น หากคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด มีมติไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ แต่สามารถยื่นหนังสือขอให้ทบทวนผลการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดได้
ตอบ: พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มาตรา 22 ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอให้คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดพิจารณาได้ ให้ประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาคำขอ และรายงานให้คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ทราบโดยเร็ว ดังนั้น ในการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือกรณีจำเป็นเร่งด่วน ให้ใช้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 15 วรรคสอง มาประกอบการพิจารณา
ตอบ: ตามสัญญาจ้างทนายความตกลงกันจ่ายค่าจ้างเป็นงวดๆ โดยได้มีข้อตกลงในการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นจำนวน 3 งวด งวดแรกเมื่อทำสัญญา และยื่นฟ้องต่อศาล งวดที่สองจะจ่ายเมื่อมีการสืบพยานเสร็จสิ้น และงวดที่สามจะจ่ายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ปรากฏตามพฤติการณ์และข้อเท็จจริงมิได้มีการสืบพยานจนเสร็จสิ้นทนายความได้ยื่นฟ้องและรับเงินงวดแรกแล้วต่อมาคู่ความสามารถตกลงในเรื่องค่าเสียหายได้ และได้มีการถอนฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างทนายความในงวดที่สองและงวดที่สาม
ตอบ: เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด เป็นหน้าที่ของผู้ขอรับความช่วยเหลือซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาต้องดำเนินการตามคำพิพากษา ตามมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและเมื่อได้รับเงินจากการบังคับคดีนั้นแล้ว ตามสัญญาได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม กรณีให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี ข้อ 3 ในกรณีที่ขอรับความช่วยเหลือตามข้อ 1.1 หรือ ข้อ 1.2 เมื่อศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินค่าทนายความ ผู้ขอรับความช่วยเหลือจะต้องนำเงินที่ได้รับทั้งหมด แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้รับจากผู้ให้ความช่วยเหลือ คืนผู้ให้ความช่วยเหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงินในกรณีที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือดำเนินการบังคับคดีและได้รับเงินดังกล่าว แต่ไม่นำเงินมาส่งมอบให้กองทุนยุติธรรม ต้องดำเนินการตามสัญญาการได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม กรณีให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี ข้อ 5 หากผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องคืนเงินที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วแต่กรณี รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการเตือน ทวงถาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีให้ชำระหนี้คืนให้แก่ผู้ให้ความช่วยเหลือด้วย ดังนั้น หากผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ดำเนินการดังกล่าวกองทุนยุติธรรมจะดำเนินการกับผู้ขอรับความช่วยเหลือตามกฎหมายต่อไป
ตอบ: เป็นหน้าที่ของผู้ขอรับความช่วยเหลือซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตาม คำพิพากษา ตามมาตรา271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อได้รับเงินจากการบังคับคดีแล้วนั้น ตามสัญญาได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมกรณีให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีเมื่อศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินค่าทนายความ ผู้ขอรับความช่วยเหลือจะต้องนำเงินที่ได้รับทั้งหมด แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้รับจากผู้ให้ความช่วยเหลือคืนผู้ให้ความช่วยเหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเงิน
ตอบ: ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 24 วรรคสอง ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจทำสัญญาจ้างทนายความได้ทัน ให้เลขานุการพิจารณาคัดเลือกทนายความจากบัญชีทนายความของกองทุนเพื่อดำเนินคดี หรือบังคับคดีให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือไปพลางก่อน แล้วทำสัญญาจ้างทนายความกับกองทุนภายหลัง
ตอบ: กรณีการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี ที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอต่อคณะอนุกรรมการได้ ให้ประธานคณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอ และรายงานให้คณะอนุกรรมการ ทราบโดยเร็ว ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ.2559 ข้อ 15 กรณีเหตุจำเป็นเร่งด่วนสำหรับ คำขอรับความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี ยกตัวอย่างเช่น
1) คำขอรับความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี หากไม่ได้รับการพิจารณาโดยเหตุจำเป็นเร่งด่วนอาจทำให้คดีขาดอายุความในการดำเนินการฟ้องคดี
2) หากไม่ได้ใช้สิทธิทางศาลจะเกิดความเดือดร้อนเกินสมควร
3) ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างทนายความแต่ได้กู้ยืมเงินมาจ่ายค่าทนายความบางส่วนจึงมาขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม
ตอบ: ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 25 บัญญัติว่า “ผู้ขอความช่วยเหลือไม่อาจเปลี่ยนตัวทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งได้ เว้นแต่ ความปรากฏแกเจ้าหน้าที่ หรือผู้ขอรับความช่วยเหลือพบพฤติการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่คดีหรือทนายความผิดสัญญาจ้างทนายความ เจ้าหน้าที่หรือผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจร้องขอให้เปลี่ยนทนายความได้ โดยให้ชี้แจงและแสดงเหตุผลเป็นหนังสือ” ประกอบวรรคท้าย “ทั้งนี้ การพิจารณาเปลี่ยนทนายความให้อยู่ในดุลพินิจของคณะอนุกรรมการ หรือประธารหรือเลขานุการแล้วแต่กรณี” ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขอรับความช่วยเหลือ ยื่นหนังสือขอเปลี่ยนตัวทนายความครั้งแรก โดยอ้างเหตุว่าทนายความไม่ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีให้กับผู้ขอรับความช่วยเหลือ และยื่นหนังสือขอเปลี่ยนตัวทนายความครั้งที่ 2 โดยอ้างเหตุว่าทนายความละเลยไม่ยื่นขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา ทำให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือ พบพฤติการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่คดี ผู้ขอรับความช่วยเหลือจึงมีสิทธิร้องขอให้เปลี่ยนทนายความได้ แต่ทั้งนี้การพิจารณาเปลี่ยนทนายความให้อยู่ในดุลพินิจของคณะอนุกรรมการ หรือประธาน หรือเลขานุการ แล้วแต่กรณี
ตอบ: ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 29 กำหนดให้ “การจ่ายค่าจ้างและและค่าอื่นใดให้แก่ทนายความ ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างทนายความ...” ซึ่งในการให้ความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรมเพื่อเป็นค่าจ้างทนายความในการบังคับคดีนั้น สัญญาจ้างทนายความในชั้นบังคับคดี ได้กำหนดการจ่ายค่าจ้างออกเป็นรายงวดรวม 2 งวด โดยจะจ่ายตามผลสำเร็จของงาน สำหรับการจ่ายค่าจ้างในงวดที่ 2 สัญญากำหนดให้จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เมื่อผู้รับจ้างได้ดำเนินการบังคับคดีเสร็จสิ้น ซึ่งมีปัญหาในการตีความสัญญาว่า คำว่า “การบังคับคดีเสร็จสิ้น” มีความหมายแค่ไหน อย่างไร พิจารณาแล้วเห็นว่า การบังคับคดีเสร็จสิ้น ตามที่ระบุไว้ นั้น หมายถึงการดำเนินการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงในครั้งนั้นๆ เพราะการจ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างทนายความในชั้นบังคับคดี ผู้รับจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ตามผลสำเร็จของงานตามงวดที่กำหนดไว้ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้รับจ้างได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา จนมีการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ่ายเงินตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องให้แก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วเพียงเท่าที่เงินรายได้จำนวนสุทธิจะพอแก่การที่จะจ่ายให้ได้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงตามสัญญาแล้วเมื่อผู้รับจ้างได้ตรวจสอบแล้วยืนยันว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับคดีชำระหนี้ได้ แม้การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น จะได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา ก็ถือว่าผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแล้ว ซึ่งในการดำเนินการของผู้รับจ้าง สัญญากำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องใช้ความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ ด้วยความระมัดระวังและความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติตามสัญญาอย่างมีประสิทธิภาพและจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามมาตรฐานของวิชาชีพที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปตามที่สัญญาได้กำหนดไว้ ดังนั้น ในการขอรับค่าจ้างงวดที่ 2 นั้น จึงขอให้ทนายความผู้รับจ้าง รับรองยืนยันเป็นเอกสารว่าได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับคดีได้แล้ว เพราะเมื่อมีการเบิกเงินค่าจ้างในงวดที่สองแล้ว ถือว่าการปฏิบัติตามสัญญาได้เสร็จสิ้นลง
ตอบ: การบังคับคดีกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นต้องดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่จะพอชำระหนี้ หากผู้รับจ้างได้ดำเนินการบังคับคดีกับทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ตาม คำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าได้เงินไม่พอชำระหนี้ได้ครบจำนวนตามคำพิพากษา ก็ถือว่าผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างสำเร็จแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างเสร็จสิ้นลงแล้ว ไม่ใช่สัญญาจะมีความผูกพันกันไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาการบังคับคดีตามกฎหมาย
ตอบ: กรณีตามที่ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 16 วรรคสอง (2) ได้กำหนดเหตุแห่งการยุติคำขอ เมื่อ ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ส่งเอกสาร หลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับข้อ 7 ซึ่งได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการส่งเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน ซึ่งในการส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการ เจ้าหน้าที่จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการ หากผู้ยื่นคำขอเพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าหน้าที่ทราบ จึงจะเป็นเหตุแห่งการยุติคำขอในกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวได้

ตามคำขอรับความช่วยเหลือ เป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเนื่องจากจะต้องได้รับการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีโดยจัดหาทนายความเพื่อยื่นคำให้การ ให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือมาให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาทำความเห็นเสนอให้ประธานอนุกรรมการพิจารณาคำขอในกรณีคำขอที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน จึงได้มีหนังสือแจ้งผู้ขอรับความช่วยเหลือเพื่อขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ สำหรับระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือดำเนินการเพื่อนำส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่นั้น กองทุนยุติธรรมพิจารณากำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถขอเอกสารอื่นเพิ่มเติมได้และ ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องนำมาให้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
ตอบ: แนวทางปฏิบัติของกองทุนยุติธรรมที่ผ่านมาจะต้องเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีความน่าเชื่อถือหรือเป็นผู้นำชุมชน เช่น นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายจ้าง ข้าราชการ เป็นต้น โดยมีความจำเป็นที่บุคคลดังกล่าวต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับผู้ขอรับความช่วยเหลือ หรือเป็นที่รู้จัก เพราะจะทราบดีว่าผู้ขอรับความช่วยเหลือมีความเป็นอยู่อย่างไร ประกอบอาชีพอะไร และมีรายได้เท่าไร ซึ่งการรับรองรายได้ไม่มีผลต่อ ผู้รับรองรายได้ แต่เป็นเพียงเอกสารหลักฐานหนึ่งที่ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทำความเห็นของเจ้าหน้าที่เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการในการพิจารณาให้ความช่วยเท่านั้น
ตอบ: ตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 ได้บัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีไว้ ตามมาตรา 28 บัญญัติว่า “การพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี และการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน (2) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน (3) โอกาสที่ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่น”ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือไว้ตาม ข้อ 10 ข้อ 11 และ ข้อ 12 แล้ว ดังนั้น ในการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือของประชาชนในการดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นกรณีการฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดี การพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ และอนุกรรมการจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งหากตามคำขอของผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ผู้ขอรับความช่วยเหลือก็มีสิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยได้รับความช่วยเหลือจากเงินกองทุนยุติธรรม ส่วนผลแพ้หรือชนะของคดี เป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
ตอบ: กองทุนยุติธรรม อนุมัติในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีทีละชั้นศาล เนื่องจากแต่ละชั้นศาลมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องยื่นคำขอรับความช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเป็นรายครั้ง
ตอบ: ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่อาจเปลี่ยนตัวทนายความได้ เว้นแต่ทนายความมีพฤติการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่คดี หรือทนายความผิดสัญญาจ้างทนายความ เจ้าหน้าที่หรือผู้ขอรับความช่วยเหลือ อาจร้องขอให้เปลี่ยนทนายความได้ โดยชี้แจงและแสดงเหตุผลเป็นหนังสือ
ตอบ: กองทุนยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชน ในการดำเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ ทางกฎหมายแก่ประชาชน หากผู้ขอรับความช่วยเหลือประสงค์ที่จะยืมเงินกองทุนยุติธรรมไปใช้จ่ายส่วนตัวนั้น จึงไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม จึงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ตอบ: กรณีดังกล่าวถือว่าทนายความมีลักษณะต้องห้าม ไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนกับทางสำนักงานกองทุนยุติธรรมได้ ถึงแม้จะพ้นผิดมารยาททนายความมาแล้วก็ตาม ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 32 (11) ไม่เป็นผู้ถูกสอบสวนคดีมรรยาททนายความและถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ
ตอบ: ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ เนื่องจากจะต้องเป็นการช่วยเหลือในการยื่นคำร้อง ฟ้องคดีดำเนินคดี ต่อสู้คดี บังคับคดี และการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 4
ตอบ: ผู้ขอรับความช่วยเหลือสามารถยื่นที่สำนักงานกองทุนยุติธรรมได้ หรือจะยื่นสำนักงานยุติธรรมจังหวัดใดก็ได้ตามที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือสะดวกที่สุด หรือยื่นที่ส่วนราชการอื่นก็ได้ หรืออาจจะจัดส่งทางไปรษณีย์มายังสำนักงานกองทุนยุติธรรมก็ได้ ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 5
ตอบ: หากผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาขอคณะอนุกรรมการหรือประธาน ให้ยื่นหนังสือขอให้ทบทวนผลการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการ หรือประธานแล้วแต่กรณี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ได้ ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 19
ตอบ: หากเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้ขอรับความช่วยเหลือจะเสนอทนายความที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งก็ได้ แม้ทนายความผู้นั้นจะไม่ได้ขึ้นบัญชีไว้กับกองทุนก็ตาม ให้ทนายความดังกล่าวได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกับทนายความที่ขึ้นบัญชีกับกองทุนและต้องมีความผูกพันเป็นไปตามระเบียบนี้ด้วย ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 ข้อ 27
ตอบ: กรณีดังกล่าวเป็นกรณีเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอต่อคณะอนุกรรมการได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน สามารถเสนอรายงานความเห็นให้ประธานเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาคำขอ และรายงานให้คณะอนุกรรมการทราบโดยเร็ว ซึ่งหากรอเข้าคณะอนุกรรมการอาจเกิดความเสียหายทางคดีของประชาชน และทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าวได้
ตอบ: แม้สามีของผู้เสียหายกับผู้เสียหายจะมิได้จดทะเบียนหย่ากัน แต่หากฝ่ายสามีไม่ส่งเสียค่าอุปการะเลี้ยงดู ฝ่ายผู้เสียหายย่อมเรียกจากสามีได้ในเมื่อบุตรฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/38)
ตอบ: ผู้เสียหายสามารถเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นได้ หากหญิงนั้นแสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีของผู้เสียหายในทำนองชู้สาว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523)
ตอบ: 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาเอกสารแสดงตัวตนอื่นที่ราชการออกให้
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. เอกสารที่ระบุถึงพฤติการณ์แห่งคดี
4. ใบมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

หากนำมาไม่ครบถ้วน สามารถนำมาให้เจ้าหน้าที่ภายหลัง และเจ้าหน้าที่สามารถขอเอกสารอื่นเพิ่มเติมได้และ ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องนำมาให้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ไห้รับแจ้ง
ตอบ: 1. บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรของตน
3. ศาลมีคำพิพากษาว่าให้เด็กเป็นบุตรของฝ่ายชาย
ตอบ: ไม่จำเป็นที่ผู้เสียหายจะต้องเดินทางมายังสำนักงานกองทุนยุติธรรม ผู้เสียหายสามารถ ขอคำปรึกษาและยื่นคำขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่ผู้เสียหายมีภูมิลำเนาอยู่ได้

2. การช่วยเหลือประชาชนในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

ตอบ: การยื่นคำขอฯ จะต้องยื่นคำขอเป็นรายชั้น ตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา และจะต้องยื่นคำขอฯ เข้ามาใหม่เมื่อเข้าสู่ชั้นพิจารณาใหม่ เนื่องจากพฤติการณ์คดีหรือข้อเท็จจริงในแต่ละชั้นพิจารณาอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามผลของการพิจารณาในแต่ละชั้น
ตอบ: การยื่นคำขอฯ ผู้ขอฯ สามารถยื่นคำขอฯ ได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ หรือยื่นผ่านหน่วยงานราชการอื่น หรือโดยวิธีการส่งไปรษณีย์ หรือทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ตอบ: ไม่ใช่ เมื่อผู้ขอฯ ได้รับการอนุมัติเงินช่วยเหลือตลอดจนทำสัญญาการได้รับเงินฯ และสัญญา ค้ำประกันฯ เรียบร้อยแล้ว กองทุนยุติธรรมจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ไปวางหลักประกันต่อศาลให้ ไม่ใช่ เป็นการนำเงินให้ผู้ขอฯ ไปยื่นต่อศาลเอง
ตอบ: พิจารณาจากหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม และระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ. 2559 โดยการพิจารณาจะคำนึงถึงว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการใดหรือไม่ เป็นหลัก
ตอบ: ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม บุคคลย่อมสามารถยื่นคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมได้ แต่จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ โดยจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ตามกฎหมายของกองทุนยุติธรรมเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แม้ให้การรับสารภาพหากพิจารณาพฤติการณ์และข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนีจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการใดหรือไม่ ก็สามารถพิจารณาอนุมัติได้
ตอบ: ผู้ขอฯ สามารถยื่นคำขอทบทวนผลการพิจารณาได้โดยการมีหนังสือต่อผู้ที่ทำการพิจารณา พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริง ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ตอบ: ผู้ขอฯ สามารถไปทำสัญญาในพื้นที่ที่ผู้ขอฯ มีถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำเนาได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ใน การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเจ้าหน้าที่จะคำนึงถึงความสะดวกและไม่สร้างภาระแก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้ขอฯ มากเกินจำเป็น เป็นสำคัญ
ตอบ: ได้ เหตุผลคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสามารถยื่นคำขอฯ แทนได้ แต่ต้องมีใบมอบอำนาจจากคู่สมรสที่ถูกคุมขัง มาประกอบการยื่นคำขอฯ ด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะจัดทำใบมอบอำนาจดังกล่าวให้แก่ผู้ขอฯ
ตอบ: ผู้ต้องหาหรือจำเลย จะต้องมารายงานตัวต่อศาลและสำนักงานกองทุนยุติธรรม ตามกำหนดนัด ของทั้ง 2 แห่ง (จะเลือกที่ใดที่หนึ่งไม่ได้ ต้องมารายงานตัวทั้งสองแห่ง)
ตอบ: กองทุนยุติธรรมให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการ หรือเรียกรับเงิน เพื่อประโยชน์อย่างอื่น จึงไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ผู้ขอฯ จะต้องชำระแก่กองทุนยุติธรรม
ตอบ: ไม่ได้ เนื่องจากกองทุนยุติธรรมไม่มีอำนาจในการแทรกแซงดุลพินิจของศาล หรืออำนาจในการพิจารณาของศาล
ตอบ: ได้ แต่จะต้องมีการมอบอำนาจจากผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ตอบ: (1) สำเนาทะเบียนบ้าน
(2) สำเนาบัตรประชาชน
(3) ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี)
(4) ใบมอบอำนาจ (ถ้ามี)
(5) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดี เช่น บันทึกการจับกุม, รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี, บันทึกคำให้การ, คำฟ้อง, รายงานกระบวนพิจารณาคดี, คำพิพากษา (กรณีขอในชั้นอุทธรณ์ / ฎีกา) เป็นต้น
ตอบ: จำนวน 2 คน ซึ่งต้องเป็นสามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้าง ไปทำสัญญาค้ำประกันกับกองทุนยุติธรรมด้วย
ตอบ: ในเขตกรุงเทพมหานคร ขอหลักประกันตามวงเงินประกันที่ศาลกำหนด ซึ่งจำนวนเท่าใดก็ได้ ส่วนเรื่องที่ส่งมาจากสำนักงานยุติธรรมจังหวัดจะต้องมีวงเงิน เกิน 500,000 บาท
ตอบ: ยื่นได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่ผู้ขอฯ มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และจะได้รับการพิจารณาในจังหวัดหากวงเงินการพิจารณา ไม่เกิน 500,000 บาท หากเกิน 500,000 บาท ทางสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่รับเรื่องจะส่งต่อมายังกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาต่อไป
ตอบ: ขอได้ทุกชั้น 1. ชั้นพนักงานสอบสวน 2. ชั้นพนักงานอัยการ 3. ชั้นศาลชั้นต้น 4. ชั้นศาลอุทธรณ์ 5. ชั้นศาลฎีกา
ตอบ: ไม่ได้ เพราะแต่ละชั้นมีพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน และวงเงินประกันในแตะละชั้นก็ไม่เท่ากัน
ตอบ: จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ด้วยความสะดวกรวดเร็วเป็นพิเศษ
ตอบ: การพิจารณาจะคำนึงถึงว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือจะไปก่อเหตุภัยตรายประการใดหรือไม่ และจะมีข้อควรคำนึงตามระเบียบ เช่น ลักษณะการกระทำความผิด สาเหตุหรือพฤติการณ์ ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ คือ 1. รายได้ 2. ภาระค่าใช้จ่าย 3. ภาระหนี้สิน ประวัติการกระทำความผิด นิสัย ความประพฤติ และข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้อง และความคิดเห็นของผู้เสียหาย หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ตอบ: ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผล ถ้าไม่มาภายใน 30 วัน จะถือว่าผู้ขอยุติคำขอรับความช่วยเหลือ
ตอบ: เจ้าหน้าที่อาจเสนอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการ ประธาน หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย เพื่อยุติคำขอรับความช่วยเหลือ
ตอบ: ถ้าเป็นสามี ภริยา ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้าง จะต้องได้รับมอบอำนาจมาดำเนินการแทน
ตอบ: ยังไม่ได้ ผู้ขอรับความช่วยเหลือจะต้องเข้ามาทำสัญญาก่อน และส่งเรื่องเพื่อดำเนินการในขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินต่อไป
ตอบ: ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ. 2559 ข้อ 27 “สัญญาการได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งยื่นในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นพนักงานอัยการ หรือชั้นศาล ให้มีผลเฉพาะในชั้นนั้นๆ หากผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ปฏิบัติตามสัญญาให้ถือว่าสัญญานั้นเป็นอันสิ้นสุด” ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มีเจตนารมณ์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นรายชั้นการพิจารณาเนื่องจากแต่ละชั้นการพิจารณาอาจจะมีข้อเท็จจริง และพฤติการณ์คดีที่แตกต่างกันออกไป และในการพิจารณาหลักประกันแต่ละชั้นการพิจารณาวงเงินหลักประกันจะมีการกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร
ตอบ: กรณีการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอ ให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอได้ ให้ประธานอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอและรายงาน ให้คณะอนุกรรมการทราบโดยเร็ว หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถเสนอคำขอรับความช่วยเหลือ การปล่อยชั่วคราวให้อนุกรรมการพิจารณาได้ คณะอนุกรรมการอาจมอบหมายให้อนุกรรมการและเลขานุการ หรืออนุกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้พิจารณาคำขอก็ได้ และรายงานให้คณะอนุกรรมการ ทราบโดยเร็ว ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ.2559 ข้อ 15กรณีเหตุจำเป็นเร่งด่วนสำหรับคำขอในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยยกตัวอย่างเช่น
1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกคุมขังในเรือนจำแล้ว
2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยกำลังจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและจะสิ้นอิสรภาพ
3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยขอเปลี่ยนหลักประกันเนื่องจากทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันเดิมได้มาจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ
4) ญาติมีความจำเป็นจึงแจ้งขอถอนหลักประกันทำให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องถูกคุมขัง ผู้ขอรับความช่วยเหลือจึงมาขอรับความช่วยเหลือหลักประกันจากเงินกองทุนยุติธรรม เป็นต้น
ตอบ: กรณีการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย และผู้ขอรับความช่วยเหลือได้จัดหาบุคคล มาทำสัญญาค้ำประกันการได้รับเงินช่วยเหลือกองทุนยุติธรรม กับสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเรียบร้อยแล้ว สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเหลือเพียงการนำเงินกองทุนยุติธรรม ไปวางเป็นหลักประกันต่อศาลจังหวัดในวันที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีของผู้ขอรับความช่วยเหลือถึงแม้ต่อมาจะปรากฏว่า ผู้ขอรับความช่วยเหลือ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ ควบคุมตัวมาดำเนินคดีที่กรุงเทพมหานคร และปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการสอบสวนของกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) และตัวผู้ขอรับความช่วยเหลืออยู่ในระหว่างการฝากขังของศาลอาญา กรุงเทพมหานคร ดังนั้น ผู้ขอรับความช่วยเหลือยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้หลักประกันในการปล่อยชั่วคราวจากสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ในข้อหากระทำการฐานค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี และเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใด เพื่อการอนาจาร เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณี แม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม จึงยังไม่เป็นเหตุแห่งการยุติคำขอตาม ข้อ 16 (4) แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ.2559
ตอบ: ตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 กำหนดให้กองทุนยุติธรรมมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยกำหนดให้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนใน การดำเนินคดี การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อน ยากไร้ ไม่ได้รับความเป็นธรรมและเพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว และเสมอภาค ได้มีการเห็นชอบให้มี การกระจายอำนาจในการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรมทั้ง 76 จังหวัด เพื่อให้การจัดการกองทุนยุติธรรมมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยให้อำนาจยุติธรรมจังหวัดและคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีอำนาจพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือได้ ภายในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม ในกรณีการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย นั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มาตรา 29 ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ. 2559 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้ในหมวด 4 ข้อ 10 ข้อ 11 และ ข้อ 12 แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จะได้มีนโยบายที่รัฐบาลกำชับและมีข้อสั่งการให้กับกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยไม่ให้พนักงานฝ่ายปกครองใช้ตำแหน่งประกันตัวผู้ต้องหาคดีทรัพยากรธรรมชาติก็ตาม แต่ในการพิจารณาของกองทุนยุติธรรมจำเป็นต้องพิจารณาให้ ถ่องแท้ถึงเจตนาของผู้ขอรับความช่วยเหลือ โดยปรากฏพฤติการณ์และข้อเท็จจริงแห่งคดีว่าได้กระทำเพื่อการใดด้วยเหตุผลประการใด เช่น เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบสัมมาอาชีพ หรือกระทำการในเชิงธุรกิจ เป็นนายทุน อันเป็นข้อมูลที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมประกอบกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรม ก็ได้มีนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนยากไร้ ไม่ได้รับความเป็นธรรมให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ผู้มีอำนาจในการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือ หากได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถพิจารณาอนุมัติ ไม่อนุมัติ หรือยุติการให้ความช่วยเหลือได้

3. การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

ตอบ: ได้ โดยผู้ขอฯ ต้องแสดงหลักฐานว่า เป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งหมด เช่น หลักฐานที่แสดงถึงการถูกคุมขังครั้งแรก และวันที่ได้รับการปล่อยจากการถูกคุมขัง
ตอบ: ไม่ได้ เนื่องจากจะต้องผ่านกระบวนการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฟ้องร้องเป็นคดีความตามรูปแบบปกติเสียก่อน กรณีนี้จะเป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีของละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ปกติ (มาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
ตอบ: สามารถยื่นคำขอได้ ทั้งนี้ การพิจารณาอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ เป็นดุลพินิจหรืออำนาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตอบ: เอกสารระบุตัวตน เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ขอฯ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นคำขอฯ แทน) เอกสารที่เกี่ยวกับการถูกคุมขัง และการปล่อยตัว เช่น คำร้องขอฝากขัง บันทึกการจับกุม หมายขังระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา คำพิพากษา หมายปล่อย เป็นต้น
ตอบ: สามารถยื่นได้ ทั้งนี้การพิจารณาอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ เป็นดุลพินิจหรืออำนาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตอบ: ยังไม่ได้ในทันที เนื่องจากทุกคำขอฯ จะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ซึ่งเป็นดุลพินิจหรืออำนาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตอบ: สามารถยื่นที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดได้ แต่อำนาจการพิจารณาเป็นของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สำนักงานยุติธรรมจังหวัดจึงต้องส่งคำขอฯ มายังสำนักงานกองทุนยุติธรรม
ตอบ: กองทุนยุติธรรมช่วยเหลือเงินเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้ช่วยค่าปลงศพ
ตอบ: พิจารณาคำขอไม่ได้ เนื่องจากอำนาจพิจารณาเป็นของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีเพียงคณะเดียวที่กรุงเทพมหานคร ส่วนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสามารถรับคำขอฯ และต้องส่งคำขอฯ พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมายังสำนักงานกองทุนยุติธรรม เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ตอบ: สามารถยื่นได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัด หรือสำนักงานกองทุนยุติธรรมได้ แต่อาจต้องพิจารณาส่งคำขอไปที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เนื่องจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กลุ่มงานนิติเวชคลินิก จะมีโครงการตรวจสารพันธุกรรมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจากประชาชนอยู่แล้ว และจะมีการลงพื้นที่ไปตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จึงเป็นกรณีที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัด อาจประสานงานกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้โดยตรง เว้นแต่หากได้รับการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดี และต้องมีการตรวจพิสูจน์ในทางคดี ก็สามารถขอค่าใช้จ่ายในส่วนการตรวจพิสูจน์ที่เกิดขึ้นในทางการดำเนินคดีได้

4. การสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

ตอบ: 1. บุคคลธรรมดา
2. นิติบุคคล
3. องค์กรเอกชนหน่วยงานของรัฐ
4. สถานศึกษา
ตอบ: 1. ยื่นด้วยตนเอง
2. ส่งคำขอทางไปรษณีย์
3. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
4. ช่องทางอื่น
ตอบ: 1. แบบการยื่นคำขอรับความช่วยเหลือ
2. รายละเอียดโครงการที่เสนอ
3. หนังสือรับรองผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ตอบ: 1. ค่าใช้จ่ายโครงการ
2. ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ตอบ: จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. โครงการเผยแพร่หรือการอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
2. โครงการที่เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิและหน้าที่แก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
3. โครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนที่เป็นวัฒนธรรมใหม่
4. โครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนอื่น ที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร
ตอบ: 1. ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ต้องไม่ได้รับเงินจากหน่วยงานอื่น
3. ความรู้ทางกฎหมายที่กลุ่มเป้าหมายควรได้รับโดยวิเคราะห์จากความเป็นจริงและสภาพปัญหาในพื้นที่
ตอบ: ถ้าไม่มารับภายในกำหนดหรือไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้ถือว่าประสงค์ไม่ขอรับเงินสนับสนุน เว้นแต่มีเหตุอันสมควร
ตอบ: ได้ ผู้รับการสนับสนุนมีหนังสือขออนุมัติเปลี่ยนแปลงพร้อมแสดงเหตุผลไปยังคณะอนุกรรมการโดยเร็วก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการ